Smile ตอนที่ ๙ Smile 

ทัพหลวงเคลื่อนพลช้างทรงพระนเรศวรและ

พระเอกาทศรถฝ่าเข้าไปในกองทัพข้าศึก

 

            ๑๒o(๒๘๔) ด้านพระนเรศวรและพระเอกาทศรถ แล้วพระองค์ทั้งสองก็ขึ้นไปนั่งบนกริ่น นั่งบนพระราชยานบนอาสนที่โอ่อ่า คอยฤกษ์ดูท้องฟ้าปลอดโปร่งเมื่อไรจะได้ยกทัพ

            ๑๒๑(๒๘๕) ทันใดนั้นก็มีเมฆลอยเย็นเยือกจับชื้นอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือท้องฟ้าที่มืดก็กลับสว่าง พระอาทิตย์ส่องแสงจ้าอย่างสดใส

            ๑๒๒(๒๘๖) ท้องฟ้าปราศจากความมัวหมอง ปกคลุมอย่างเป็นระเบียบเหมือน แก้วน้ำเงินสีบริสุทธิ์ไร้มลทินแน่แท้แสดงให้เห็นว่ามีฤกษ์แห่งความสวัสดีและอำนาจ

            ๑๒๓(๒๘๙) เคลื่อนพลตามเกร็ดนาคเต็มท้องทุ่ง เป็นทัพที่แสนยานุภาพ ทันใดก็ได้ปะทะกับศัตรูส่วนช้างทั้งคู่คือเจ้าพระยาไชยานุภาพและเจ้าพระยาปราบไตรจักร คอยฟังเสียงฆ้องและกลองของปืนศึก เสียงดังกึกก้องด้วยแตรงานรีบร้องเรียกมัน ยกหูชูหางแล่นแปร้นแปร๋วุ่นวาย เดินย่างก้าวใหญ่เดินไปเรื่อยๆ ทำกิริยาอย่างร่าเริง รื่นเริงอย่างสนุก เข้าสู้รบข้าศึกอย่างรบพุ่งควาญยังควบคุมยังไม่อยู่วิ่งอย่างรวดเร็วลอยตามกลตามไพร่พลและคำสั่งที่มีอำนาจ ขวาซ้ายขึ้นไปทั้งข้างหน้าและข้างหลัง ทั้งไพร่พลและขุนนางทุกคน เดินไม่ทันพระนเรศวรและพระเอกาทศรถ ช้างทั้งสองเข้าไปสู่ทิศในแดนของข้าศึก สองพระองค์สู้กับข้าศึก ไม่มีทหารมาล้อมมีแต่ควาญช้าง กำหนดเป็นสี่ทิศ รีบเข้าใกล้กองหน้า ดูแล้วมีข้าศึกเกลื่อนกลาดเข้ายึดครองพวกข้าศึกเต็มไปด้วยมอญ พม่า เดินกันเหมือนคลื่นฟองอากาศ ที่เต็มอยู่ในน่านน้ำใหญ่ มองดูข้าศึกที่เรียงต่อกันไล่รบกับไพร่พลของชาวไทย มีทหารอย่างมากมาย ดูซับซ้อนดูสับสน มองแล้วไม่เป็นกองทัพเลย ทั้งสองพระองค์ก็ทรงดันไปตรงเข้าไปถีบ เข้าไปแทง ด้วยแสงกายหงายงาซ้อนข้าศึกขึ้น ถอนให้แพ้ไปทุกคน ปะทะกันอย่างขวักไขว่ ช้างศึกได้กลิ่นมันทำให้หัวตกอย่างตกใจพากันเลี่ยงกันหอบปะทะกันอย่างสับสน ช้างทั้งสองเข้าชนอย่างชำนาญมีเรี่ยวแรงมาก ดั้งแทง ทั้งถีบ ทั้งเตะกันอย่างชุลมุน พวกพม่ามอญตายกันอย่างกลาดเกลื่อน ข้าศึกรุมกันยิงปืน ยิงทั้งกุทัณฑ์และธนูเหมือนกับฝนตกที่พร้อมๆกันไปตกโดนตัวเองเกิดฝุ่นตลบที่เต็มไปทั่วท้องฟ้า มองดูก็ไม่รู้หน้ากันจนตะวันลับขอบฟ้า

            ๑๒๔(๒๙๐) พระนเรศวรทรงสมมุติว่าพระองค์เป็นผู้ยิ่งใหญ่ไปทั่วทุกหนทุกแห่งได้ขึ้นครองอยุธยาและได้แสดงอำนาจไปทั่วทั้งแผ่นฟ้าและแผ่นดิน

            ๑๒๕(๒๙๑) พระองค์ทรงตรัสราชโองการแก่เทพบนสวรรค์ ๖ ชั้น ช่วยรับฟังถ้อยคำของพระองค์

            ๑๒๖(๒๙๒) ช่วยทำให้เกิด ให้สืบเชื้อสายเศวตฉัตรต่อไปเพื่อรักษาพระรัตนตรัยให้ยืนนานทำนุรักษาพระศาสดาให้เกื้อกูล เพื่อก่อสร้างบุญให้เกิดผล

            ๑๒๗(๒๙๓) เหตุใดที่ทำให้ท้องฟ้าสว่าง ใสสว่างปราศจากควันที่มืดมิดทำให้มองเห็นเหล่าข้าศึกศัตรู ทำให้เห็นชัดขึ้นด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดความสงสัยความแคลงใจ

            ๑๒๘(๒๙๔) เมื่อพระนเรศวรพูดเสร็จ ลมพายุก็เบิกฟ้า พายุได้พัดพาฝุ่นควันไป ทำให้ท้องฟ้าส่องสว่างไปทั่วสนามรบ

            ๑๒๙(๒๙๕) พระนเรศวรมองดูอมิตรว่าครบ ๑๖ ชั้น ฉัตรที่สวมได้บนหัว ไม่จบเรื่องกับพระมหาอุปราชาแน่ พลางก็ขับช้างให้เดิน แต่ตาก็ยังมองดูมองหา

            ๑๓o(๒๙๖) โดยเห็นทิศขวาของพระองค์ มีการรบอยู่กลุ่มหนึ่ง ขึ้นฉัตรไพร่พลทั้ง ๔ เหล่า ให้อยู่เคียงกัน ไม้นี้มีชื่อว่าอะไรอยู่ที่ไหนมีชื่อว่าต้นข่อย

            ๑๓๑(๒๙๗) พระนเรศวรทรงนึกอยู่นาน คิดว่าเป็นขุนศึกของพวกมอญ ไพร่พลในทัพน่ากลัว มองดูแล้วมีมากมาย

            ๑๓๒(๒๙๘) พระนเรศวรและพระเอกาทศรถได้ขับช้างผ่านไปทั่ว เป็นแขกของกษัตริย์มอญ

            ๑๓๓(๒๙๙)กลัวอำนาจเท่าผม หน้าตาเศร้าหมองก็หายไป

            ๑๓๑(๓๐๐) พลทหารก็รีบยิงปืนไฟรุมเข้ามาจนแตกตื่นวิ่งกันพลุกพล่าน

 

 

 


  

  


Smile ตอนที่ ๑๐ Smile

 ยุทธหัตถีและชัยชนะของไทย

 

            ๑๒๙(๓๐๑) พระนเรศวรทรงเปิดกถาสินาทซึ่งเป็นสุภาษิตที่มีความไพเราะ เสนออย่างไม่มีข้อข้องใจ หมองใจ

            ๑๓๐(๓๐๒) พระนเรศวรผู้ยิ่งใหญ่เมื่อได้ยินพระเกียรติชื่อเสียงก็ต้องกลัว ทุกทิศเมื่อได้ยินชื่อเสียงของพระองค์ก็ต้องเกรงกลัวในอำนาจของพระองค์

            ๑๓๑(๓๐๓) พระนเรศวรผู้ที่ชอบยืนอยู่ใต้ร่มไม้ เชิญพี่ร่วมออกศึกเพื่อรักษาเกียรติเอาไว้ สืบไปจนเราทั้งสองจะสิ้นชีวิตลง

            ๑๓๒(๓๐๔) ช้างที่ออกศึกในครั้งนี้ในอนาคตจะไม่มีอีก และพระเจ้าแผ่นดินที่ออกรบกับช้างคู่จะมีแต่เราเราสองคนพี่น้องตราบฟ้าชั่วดินสลาย

            ๑๓๓(๓๐๕) ไว้เป็นการละเล่นที่มีความสุขสงบสำหรับความสุขที่เพิ่งเริ่ม ทำให้หัวใจเบิกบานจากการทำสงครามครั้งนั้นและทำให้มนุษย์มีความสุขไปจนถึงสวรรค์

            ๑๓๔(๓๐๖) ให้เหล่าเทวดาทั้งสวรรค์มาประชุมกันที่นี่ มาดูการรบยุทธหัตถีว่าใครมีความชำนาญกว่า ก็จะได้รับชัยชนะ

            ๑๓๕(๓๐๗) ทำให้มีชื่อเสียงเกียรติยศกลางสนามรบให้มีชื่อเสียงคู่แผ่นดินนานๆ สงครามกษัตริย์ของ ๒ แผ่นดิน ใครจะมีอำนาจมากกว่ากันก็จะได้รู้กัน

            ๑๓๖(๓๐๘) คำพูดที่พูดออกมานั้นทำให้พระมหาอุปราชารู้สึกเห็นชัดขึ้นว่าเกิดมาเป็นกษัตริย์ควรจะมีความกล้าหาญ ดังนั้นจึงขับช้างเข้ารบกันโดยไม่คิดถึงอะไร

            ๑๓๗(๓๐๙) ช้างของพระมหาอุปราชาเชือกหนึ่งคือ ช้างพระอินทร์ อีกเชือกหนึ่งชื่อศิริเมยล์ หัวส่ายไปมาหา หงายงาขวักไขว่เข้าแทงเข้ารบ

            ๑๓๘(๓๑๐) ช้างทั้งสองก็จู่โจมเข้าใส่ปะงากัน สองกษัตริย์ยกย่องและมีความรวดเร็วคราญขับช้างเข้าชนกันในสนามรบ

            ๑๓๙(๓๑๑) ทั้งสองกษัตริย์ดูงามยิ่งนัก เปรียบเสมือนศึกระหว่างพระอินทร์กับท้าวไพจิตราสูร หรือเหมือนพระรามเริ่มรบกับทศกัณฑ์ ทุกทิศทั่วหล้าไม่มีใครจะเทียบได้

            ๑๔๐(๓๑๒) พระเจ้าแผ่นดินสยามสามารถต้านทานกษัตริย์ของมอญได้ ทั้งสองต่างไม่ลดความเกรงกลัวต่อกันมือที่หยุดเล่นขอแกว่งของ้าว

            ๑๔๑(๓๑๓) ช้างของพระนเรศวรได้เข้าปะทะกับช้างของพระมหาอุปราชา ได้เสยกันกับงาช้าง ต่างก็ค้ำคางกันไม่สนิท

            ๑๔๒(๓๑๔) ดันขึ้นไปให้เข้าใกล้ พระนเรศวรอยู่ทางทิศตะวันตก ได้ทรงแสดงฤทธิ์เดช เหวี่ยงดาบเสี่ยงอย่างแหลกลาน

            ๑๔๓ (๓๑๕) พระนเรศวรของไทยได้เบี่ยงศีรษะหอบอาวุธของศัตรูที่จะถูกพระองค์ด้วยทรงเอามือปัดป้องไว้

            ๑๔๔(๓๑๖) ช้างของพระนเรศวรได้เหวี่ยงสะบัดศีรษะไปมาได้ปะทะกับช้างศึกคอยเงยงัดคอของข้าศึก ช้างของพระมหาอุปราชาได้หลบเลี่ยงไปมาจนเสียท่าจนต้องถอย

            ๑๔๕(๓๑๗) พลาดท่าในการรบ และได้เหวี่ยงพระแสงของพระนเรศวรซึ่งได้แสดงฤทธิ์เดชจนสามารถปราบข้าศึกได้ ฟันกับไหล่ด้านถนัดจนคอขาด

            ๑๔๖(๓๑๘) อกแตกแยกออกจนฟุบลง เอนตัวล้มลงซุกบนคอช้างอย่างน่าสงสารในที่สุดก็สิ้นชีพขึ้นไปยังสรวงสวรรค์

            ๑๔๗(๓๑๙) นายท้ายขับช้างของพระนเรศวรได้ถึงแก่ความตาย เพื่อปกป้องพระนเรศวรมีปืนได้ยิงรุมกราดจนต้นต้องตาย

            ๑๔๘(๓๒๐) ฝ่ายพระเอกาทศรถได้ขับช้างเดินไปรบกับมางจาชโรผู้มีอำนาจ และรีบขับช้างเข้าปะทะงาหลังที่จะฆ่ากัน

            ๑๔๙(๓๒๑) ช้างของพระเอกาทศรสก็เข้าชนและเหนี่ยวงาช้างของศัตรูร่วงลง จนพัชเนียงหลบเลี่ยงอย่างเซซวน อย่างหัวปั่นจนทำให้พลาดท่าเสียทีจนได้

            ๑๕๐(๓๒๒) พระเอกาทศรถง่าพระแสงขึ้น ฟันคอตัดศีรษะของข้าศึกจนร่างซบลงกับช้างทำให้พระเกียรติของทั้ง ๒ พระองค์เผยแผ่ไปทั่ว

            ๑๕๑(๓๒๓) ทันใดนั้นช้างของพระเอกาทศรถก็สามารถฟันมางจาชโรพี่เลี้ยงมหาอุปราชจนทำให้คว่ำอยู่บนหลังช้าง

            ๑๕๒(๓๒๔) ศัตรูได้เห็นอำนาจของพระนเรศวร มีกลางช้าง ๒ คน ควาญ ๒ คน ทำให้พระนเรศวรมีชื่อเสียงลือเลื่องไปทั่วโลก ซึ่งผู้ตามเสด็จในครั้งนี้รอดชีวิต ๒ คน ตาย ๒ คน

            ๑๕๓(๓๒๕) เหล่ากองทัพทั้งหน้าหลังขวาซ้าย ก็ได้เคลื่อนทัพมาทันพระนเรศวรขณะที่ข้าศึกได้แพ้ คอขาดกันทั้ง ๒ คน ทุกคนรีบเข้ารุมรบ เข้าหักหาญข้าศึก เข้าบุกฟันแทงทั้งพม่า มอญและไทยใหญ่ ไล่ฆ่าอย่างเกลื่อนกลาด พากันแตกตื่นพากันตายอย่างมากมายนอนก่ายกันเป็นรายหัว ทั้งแขนขาดอย่างกลาดเกลื่อนเต็มไปทั่วท้องทุ่ง เต็มไปทั่วป่า พากันวิ่งซุกซ่อนในที่สุดต้องพ่ายแพ้ เพราะอำนาจของพระนเรศวรจึงทำให้ชนะศึก

๑๕๔(๓๒๘) เห็นฤทธิ์ของพระนเรศวรที่มีความเชี่ยวชาญกว่าที่เคยได้ยิน ซึ่งน่ามหัศจรรย์ยิ่งนัก

            ๑๕๕(๓๒๗) พวกมอญรู้สึกขวัญหนีดีฝ่อจนต้องหนีอย่างซุกซน

 

  



 

  

  


 

Smile ตอนที่ ๑๑ Smile 



พระนเรศวรทรงสร้างสถูปและพูนบำเหน็จทหาร

 

            ๑๕๖(๓๓๒) พระนเรศวรทรงรับสั่งราชโองการให้สร้างพระสถูปเพื่อได้สวมศพของพระมหาอุปราชาเพื่อเป็นที่จองจำและเป็นที่เฉลิมพระเกียรติของพระมหาอุปราชา

            ๑๕๗(๓๓๓) เมื่อเสร็จจากการรบแล้ว ก็ให้เจ้าเมืองทั้งหลายพร้อมทั้งควาญช้างจำใจต้องทูลข่าวว่าพ่ายสงคราม ส่วนองค์อุปราชาโอรสนั้นคอขาดจนสิ้นชีวิตรีบเดินเข้าอย่าช้าไป แจ้งผลของการศึกแก่พระเจ้านันทบุเรง กษัตริย์ของหงสาวดีแล้วให้เคลื่อนทัพกลับคืนยังกรุงหงสาวดี ทำให้อยุธยามีความร่มเย็นเป็นสุขไปทั่วทั้งเมืองไทย

            ๑๕๘(๓๓๔) กรุงศรีอยุธยามีความรุ่งเรือง และพระนเรศวรทรงตรัสความดีความชอบต่อเหล่าทหาร คือเจ้าราม ราฆมตำแหน่งกลางช้างต้นที่ต่อสู้กับศัตรู

            ๑๕๙(๓๓๕) ท้ายช้างก็เถลิงงาน แด่พระเอกาทศรถช่วยกำจัดศัตรู ขุนศรีคชคงผู้มีชัยชนะจะได้รับพูนบำเหน็จเนื่องจากช่วยไทยในการรบ

            ๑๖๐(๓๓๖) ช้างทั้งสองได้ช่วยเผด็จศึก จะตอบแทนบำเหน็จให้ด้วย ด้วยเครื่องอุปโภคทุกสิ่งอย่างครบครัน ทั้งเงินและทองพร้อมทั้งพวกรับใช้รวมทั้งเชลย

            ๑๖๑(๓๓๗) แล้วก็ได้ออกคำสั่งให้ยกความดีบำนาญให้แก่คนที่ตายแล้ว และให้แก่นายมหานุภาพ ผู้เป็นควาญช้างกับหมื่นภักดีศวรผู้ที่สู้ศึกจนต้องตาย

            ๑๖๒(๓๓๘) พระนเรศวรได้ตรัสบำเหน็จยศและทรัพย์สินรวมทั้งผ้าคาดเอวที่ปักลายให้แก่ทุกคน ทดแทนความดี ความชอบแก่ภรรยาและบุตรของเขา ให้สมกับที่มีความภักดีต่อแผ่นดิน

            ๑๖๓(๓๓๙) เมื่อเพิ่มบำเหน็จเสร็จก็ได้เชิญพระอัยการศึก มาปรึกษาเรื่องโทษของขุนทัพรวมทั้งหมู่อำมาตย์ว่าข้าศึกได้ยกทัพมาเหยียบแผ่นดินเข้ามายังชานเมืองแล้ว ทั้งพระนเรศวรและพระเอกาทศรสต้องการที่จะปกป้องประชาชนและพระศาสนาเพื่อรักษาชาติรวมทั้งเหล่าราษฎรทำให้รู้สึกเบื่อและท้อแท้และความยากลำบากของพระองค์ที่ทรงมีความอุตสาห์ที่เสด็จไปปราบศึก แต่พวกเหล่าขุนนางแม่ทัพทุกคนมีความขี้ขลาดต่อศัตรูมากเหลือเกิน กลัวยิ่งกว่าพระราชอาชญาจึงทรงยกทัพตามเสด็จไปรบไม่ทัน ปล่อยให้ทั้งสองพระองค์เสด็จโดยลำพังกับช้างพระที่นั่ง ท่ามกลางข้าศึกถึงแม้จะสู้ศึกด้วยช้างและชัยชนะก็ตามโทษของทหารทั้งหมดนั้นควรเป็นเช่นใด จึงมีตามแบบของโบราณ

            ๑๖๔(๓๔๓) พระอัยการศึกจึงถวายคำพิพากษาโทษ ตามเหตุนั้น แล้วก็ได้บันทึกโทษลงไป

            ๑๖๕(๓๔๔) พระองค์ทรงคำนึงถึงบาปที่จะถึงในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ จึงได้ให้รอไว้ก่อน

            ๑๖๖(๓๔๕) กำหนดให้วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันลงโทษ แต่ตอนนี้ให้ขังไว้ก่อน

            ๑๖๗(๓๔๖) ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ ให้พ้นอุโบสถเสร็จแล้วให้รีบทำโทษอย่าให้พลาดให้ดำเนินต่อไปอย่างที่กำหนดไว้แล้ว

  

 






 




 


 

 


 

 

Smile ตอนที่ ๑๒ Smile 

สมเด็จพระวันรัตขอพระราชทานอภัยโทษ

 

            ๑๖๘(๓๔๗) เมื่อเวลาผ่านไปถึงกระทั่งถึงแรม ๑๕ ค่ำ ตอน ๒ นาฬิกาปลายเพิ่งเสร็จภารกิจ จึงให้สมเด็จพระวันรัตป่าแก้วเดินทางมากับราชาคณะสงฆ์ จำนวน ๒๕ องค์ มี ๒ แผนก คือ แผนกวิปัสสนาธุระ และแผนกคันถธุระมีตาลปัตรรูปหน้านางกับตาลปัตรรูปในโพเรียงรายเดินมายังพระราชวัง ซึ่งพระนเรศวรทรงให้นิมนต์มายังพลับพลา ตกแต่งอาสน์ด้วยพรมผืนเล็ก เตรียมเสร็จก็ให้พระสงฆ์นั่ง แล้วก็กระพุ่มมือเต็มไปด้วยพระสงฆ์แช่มชื่น สมเด็จพระวันรัตก็อวยพรถามข่าวคราวของพระนเรศวร ซึ่งเพิ่งจะไปรบมาจนข้าศึกต้องพ่ายแพ้คอขาดในการรบ

            ๑๖๙(๓๔๘) สมเด็จพระวันรัตได้พูดกับพระนเรศวรว่าเหล่าทหารที่ทำไปเช่นนั้นก็มีความจงรักภักดีต่อพระองค์

            ๑๗๐(๓๔๙) ถึงจะดูว่าไม่รักดีไม่เกรงกลัวต่อพระองค์ แม้จะผิดแบบแตกต่างออกไปจากเดิมบ้าง แต่พระองค์ก็ได้แสดงอำนาจให้ทุกคนได้เห็น จนมีชื่อเสียงพูดจ้างว่าอัศจรรย์

            ๑๗๑(๓๕๗) พระนเรศวรสามารถปราบศึกได้เช่นเดียวกับพระพุทธศาสนา คู่พี่น้องออกรบด้วยความกล้าหาญจนมีชัยชนะทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วทุกแผ่นดิน

            ๑๗๒(๓๕๘) ถึงแม้จะมีทหารน้อยแต่ก็ช่วยกันออกรบจนชนะศัตรูทำให้ทหารมอญตาย และพระองค์ทรงมีชื่อเสียงที่เลื่องลือไปทั่วทั่งแผ่นดิน

            ๑๗๓(๓๕๙) พระองค์ทรงอย่าน้อยใจไปเลยเมื่อพระราชกฤษฎาเมื่อตะกี้ เหล่าเทพก็ได้ช่วยให้พระองค์ได้แสดงอำนาจจนมีชัยชนะในสนามรบ

            ๑๗๔(๓๖๐) เหมือนอย่างที่กล่าวแล้วขอให้พระองค์อย่าขุ่นเคืองหมองใจเลย

            ๑๗๕(๓๖๑) เรื่องราวก็ชัดเจนหรือน่าสนเท่ห์อย่างที่ได้พูดแล้ว

            ๑๗๖(๓๖๒) เมื่อพระนเรศวรได้ฟังพระวันรัตพูดเช่นนั้นพระองค์ก็ทรงพูดตอบกลับไปว่า จากการที่ท่านพรรณนาโดยละเอียด ทำให้รู้สึกสงบ

            ๑๗๗(๓๖๓) ความขุ่นหมองใจก็ได้หมดไปจากจิตใจของพระนเรศวร พระวันรัตแห่งวัดป่าแก้วจึงถวายพระพรแด่พระนเรศวรให้มีแต่ความหมดทุกข์และพ้นจากภัยอันตราย

            ๑๗๘(๓๖๔) เหล่าทหารใต้พระบาทเหล่านี้ควรได้รับโทษสาหัตทั้งโคตร แต่เนื่องจากพวกทหารได้ทำงานตอบแทนพระองค์ และพระมหาจักรพรรดิตลอดจนถึงสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

            ๑๗๙(๓๖๕) จนมาถึงพระนเรศวรผู้ครองแผ่นดิน เหมือนกับพุทธบริษัทที่คอยสืบทอดศาสนาช่วยงดโทษลดหย่อนโทษให้แก่ทหารเหล่านี้ อย่าต้องประหารชีวิตกันเลย ขอสักครั้งหนึ่งเถิด

            ๑๘๐(๓๖๖) ละเว้นไว้เพื่อรักษาเดชอำนาจของพระองค์ เมื่อเกิดสงครามครั้งใหม่จะได้มีแสนยานุภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไม่มีใครเลยที่ไม่อยากจะทำความดีความชอบเพื่อแก้ตัว

            ๑๘๑(๓๖๗) เมื่อพระนเรศวรได้ฟังพระวันรัตพูดเรื่องวอนการยกโทษให้พวกเหล่านายทหารทุกคน เพื่อความเมตตาและความจงรักภักดีที่มีต่อพระองค์ พระองค์จึงอนุญาตยกโทษให้ทั้งหมดตามความสมควร

            ๑๘๒(๔๒๖) พระนเรศวรเปรียบเสมือนเทพเจ้า ซึ่งจะต้องปกครองแผ่นดินไทยและอยู่คงกับแผ่นดินไทยจนฟ้าดินสลาย

            ๑๘๓(๔๒๗) เมื่อเริ่มแถลงก็เหมือนกับการเก็บดอกไม้มาเรียงร้อยเพื่อฉลองเกียรติของพระนเรศวรอย่างถ่องแท้

            ๑๘๔(๔๒๘) บรรยายพระสมญานามบารมีเหมาะกับลักษณะเรื่องราวที่มอญได้พ่ายในสงครามของสองกษัตริย์ในสนามรบ

            ๑๘๕(๔๒๙) คณะปราชญ์ได้อวยพรสรรเสริญแด่พระนเรศวรด้วยเหตุนี้จงพระเจริญแม้โลกจะดับไปก็อย่าให้พระองค์ทรงม้วยให้อยู่สืบไปเป็นน่าเกรงขาม

            ๑๘๖(๔๓๐) สมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระปรมานะชิตชิโนรสผู้เป็นกวี ดังคำพระพุทธเจ้าที่ให้ขัตติยวงศ์ทำความดีสืบต่อไป

            ๑๘๗(๔๓๗) หากต้องเวียนว่ายตายเกิดก็ขอให้บรรลุนิพพานและขอให้มีจิตใจที่เป็นกวีทุกชาติภพ จนสามารถพ้นวัฎสงสารไปได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 





 

 

Advertising Zone    Close

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...